อาจมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า น้ำมันเครื่องที่เราใส่ๆลงไปในเครื่องยนต์นั้นแบ่งออกเป็นหลายเกรด และหลายประเภท แล้วเราควรจะใส่น้ำมันเครื่องแแบบไหนลงไปในเครื่องของเรา ควรจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับรถ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด วันนี้จะมาบอกให้ครับ
อย่างแรกเลยเรามาดูวิธีอ่านรหัสกันก่อนว่าตัวเลข ตัวหนังสือที่เขาใช้ๆกันมันคืออะไรบ้าง
SAE 10W-40 คือ???
SAE ก็คือการรับรองจาก สมาคมวิศวกรยานยนต์ ของอเมริกาเป็นเครื่องรับรองนั่นเอง เลข 10 คือความข้นความใสของน้ำมันโดยจะอิงจากตัวหนังสือตัวหลังซึ่งก็คือ W หมายถึง Winter ที่แปลว่า “หน้าหนาว” โดยตัวเลขข้างหน้ายิ่งต่ำก็จะยิ่งใช้กับสภาพอากาศหนาวๆได้ดี ยิ่งสูงก็จะไว้ใช้สำหรับอากาศร้อนๆอย่างบ้านเรา ส่วน 40 นั้นคือค่าของความหนืด ซึ่งยิ่งหนืดประสิทธิภาพของการป้องกันสนิท และลดแรงเสียดทานของโซ่กับสเตอร์ก็จะดีขึ้นตามลำดับ
สำหรับคนที่ต้องการรู้ว่ารถตัวเองใช้น้ำมันเครื่องเท่าไหร่สามารถเปิดดูคู่มือรถได้ ซึ่งในนั้นจะมีบอกว่ารถที่ใช้อยู่จะต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความค้น และหนืดเท่าไหร่ จริงๆแล้วค่าทั้งสองตัวนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม แต่จะต้องเป็นคนที่เล่นรถจริงๆ และมีความช่ำชองในการจูนเครื่อง ลองเครื่อง เปลี่ยนถ่ายน้ำมันแล้วนำรถไปลองถึงจะรู้ดีในจุดนี้ที่สุด
*ข้อควรระวัง
- น้ำมันเครื่องสำหรับรถสองจังหวะจะเขียนว่า 2T แต่ก็สามารถใส่ของสี่จังหวะ (4T) ได้เช่นกัน
- รถสี่จังหวะจะใส่น้ำมันได้แค่ 4T เท่านั้น
- น้ำมันเครื่อง 4TA (AT) ใช้สำหรับรถออโต้ สามารถใช้ 4T ได้แต่ไม่แนะนำ
น้ำมันเครื่องแบ่งออกเป็น 4 ชนิดด้วยกัน
1. น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา
ตรงตัวเลย น้ำมันเครื่องชนิดนี้ก็คือที่กันอยู่ทั่วๆไปเพราะราคาไม่สูง ต่างกับระดับพรีเมี่ยมอยู่พอสมควร เหมาะสำหรับรถสี่จังหวะที่ใช้งานทั่วไปทุกวัน ไม่หนักมาก อย่างเช่นรถที่ขับไปมาระหว่างบ้านกับที่ทำงาน ไปตลาด หรือเที่ยวเล่นในเมือง
2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic)
เป็นการนำสารเคมีลงไปเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีกว่าแบบธรรมดา แต่ก็ยังไม่ดีเท่าแบบที่ 3 ซึ่งเป็นแบบสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องชนิดนี้จะให้ประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่า มีอายุการใช้งานที่นานกว่าแบบธรรมดา เหมาะสำหรับรถที่ต้องใช้งานหนัก รวมไปถึงคนทั่วๆไปที่เล่นรถ และต้องการสมรรถภาพที่ดีกว่าแบบธรรมดา แต่ยังไม่อยากจ่ายในราคาที่สูงเกินไป
3. น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ (100% Synthetic / Fully Synthetic)
น้ำมันเครื่องชนิดนี้จะใส่สารเคมีลงไป 100% เพื่อให้เหมาะกับเครื่องยนต์ และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพราะผ่านการวิจัยมาแล้ว มีอายุการใช้งานที่นานกว่าแบบอื่นๆ รวมไปถึงราคาที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน ไว้ใช้กับรุ่นที่ใช้งานหนัก ต่อเนื่องนานๆ และต้องเน้นเรื่องสมรรถภาพที่เสถียรอย่างสายทัวร์ริ่ง เป็นต้น
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
- น้ำมันเครื่องธรรมดา ทุก 2,000-3,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ทุก 2,000-4,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (100% Synthetic / Fully Synthetic) ทุก 4,000-6,000 กิโลเมตร
นี่ก็คือวิธีการดูเกรด หรือชนิดของน้ำมันเครื่องแบบง่ายๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถมากที่สุด จะได้ไม่สิ้นเปลืองทั้งน้ำมันเครื่อง และเงินในกระเป๋า