อัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน มอเตอร์ไซค์ คืออะไร และวิธีคำนวณเป็นแบบไหน

ทุกคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงต้องคำนวณอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันด้วย ในเมื่อขี่รถจักรยานยนต์ แต่ต้องบอกก่อนเลยว่า มันสามารถช่วยให้เราคำนวณค่าอื่นๆ ที่จะช่วยให้เราเดินทางได้อย่างมีความสุขและสบายใจมากยิ่งขึ้นในยุคที่น้ำมันแพงแบบนี้ วันนี้เราจึงจะพาไปหาคำตอบกันว่า การคำนวณอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน ต้องทำอย่างไร?? วิธีการคำนวณอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน การคำนวณอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน สามารถคำนวณได้จากตัวเลข 2 ค่า ได้แก่ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไปและระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไป โดยมีวิธีดังนี้ 1.ตั้งรถมอเตอร์ไซค์ให้ตรงแล้วเติมน้ำมันให้เต็มถังที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2.บันทึกเลขระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไปบนมาตรวัดไว้ 3.ขี่รถมอเตอร์ไซค์ตามการใช้งานปกติ 4.เติมน้ำมันให้เต็มถังที่สุดเท่าที่จะทำได้อีกครั้ง หลังจากน้ำมันหมดไปสัก 1/4 หรือ 1/2 ของถังน้ำมัน 5.บันทึกปริมาณน้ำมันที่เติมไปใหม่ ซึ่งจะนับเป็น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไป 6.นำตัวเลขระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไปบนมาตรวัดไปลบกับเลขเดิมที่บันทึกไว้ ซึ่งจะนับเป็น ระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไป 7.คำนวณอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันโดยนำเลขระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไปมาหารด้วยปริมาณน้ำมันที่ใช้ไป ตัวอย่างการคำนวณอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน สมมติเลขระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไปบนมาตรวัดรอบแรก (ข้อ 2) คือ 10,000 กิโลเมตร เติมน้ำมันเต็มถังที่ 5 ลิตร นำรถมอเตอร์ไซค์ไปใช้งานตามปกติจนน้ำมันลดลงครึ่งถังและเติมน้ำมันเต็มถังอีกครั้ง โดยเติมเพิ่มไป 2.5 ลิตร และพบว่าเลขระยะทางที่รถมอเตอร์ไซค์วิ่งไปบนมาตรวัดเป็น 10,060 กิโลเมตร แปลว่า มอเตอร์ไซค์วิ่งไปแล้วทั้งหมด 60 กิโลเมตร โดยใช้น้ำมัน 2.5…

ทางลาดชันอันตราย แนะนำเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้คุณขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้น – ลงทางลาดชันให้ปลอดภัยมากขึ้น

เป็นธรรมดาที่บางครั้งเราต้องขี่มอเตอร์ไซค์บนเส้นทางที่ไม่ใช่ทางราบ โดยเฉพาะคนที่ขี่มอเตอร์ไซค์ออกทริปเป็นประจำ ยิ่งบางทีเป็นทริปขึ้นเขาก็ต้องเจอกับทางลาดชันกันทั้งทริปซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นพิเศษ แต่ถ้าใครยังไม่เชี่ยวชาญวันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้น – ลง ทางลาดชันให้ปลอดภัยมากขึ้น 1.ขับขี่อย่างมีสติและโฟกัสกับเส้นทาง หลายครั้งอุบัติเหตุบนท้องถนนมักเกิดขึ้นจากตัวผู้ขับขี่ไม่คุ้นเคยเส้นทาง ดังนั้น เมื่อต้องขับขี่บนเส้นทางที่ไม่คุ้นเคยโดยเฉพาะทางที่มีความลาดชันหรือทางโค้ง คุณจำเป็นต้องตั้งสติและจดจ่อกับเส้นทางให้มาก เพื่อประเมินลักษณะเส้นทางข้างหน้าว่าเป็นอย่างไร ช่วงไหนโค้งกว้าง โค้งแคบ โค้งหักศอก หรือช่วงไหนลาดชันมากน้อยแค่ไหน จะได้เลือกใช้ความเร็วและควบคุมรถได้อย่างเหมาะสม รวมถึงระวังรถที่วิ่งสวนมาด้วยเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ 2.เลือกใช้ความเร็วและเกียร์ให้เหมาะสม ความเร็วก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องใส่ใจเมื่อต้องขี่รถมอเตอร์ไซค์บนเส้นทางที่มีความลาดชัด โดยขณะขี่ขึ้นทางลาดชันสามารถใช้ความเร็วได้พอประมาณ เพื่อให้ความเร็วกับเกียร์สัมพันธ์กันและเพื่อให้รถมีแรงไต่ขึ้น โดยความเร็วที่แนะนำอยู่ที่ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ขี่ลงทางลาดชันรถจะมีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitational Acceleration) อยู่แล้ว หากเป็นทั้งเกียร์ออโต้และเกียร์ธรรมดา เหมือนกันคนขี่อาจจะไม่จำเป็นต้องบิดคันเร่งด้วยซ้ำ แต่ควรค่อยๆ แตะเบรกเป็นระยะเพื่อควบคุมความเร็ว ในส่วนของรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดา ขณะขึ้นหรือลงทางลาดชันก็ควรใช้เกียร์ต่ำหรือไม่เกินเกียร์ 3 โดยตอนขี่ขึ้นทางลาดชันอาจใช้เกียร์ที่ต่ำกว่านั้นได้ถ้ารู้สึกว่ารถเริ่มไม่มีแรง แต่ก็ไม่ควรบิดคันเร่งแรงจนเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้รถพุ่งเลยจุดลาดชัน ส่วนขณะขี่ลงนั้น การใช้เกียร์ต่ำจะทำให้รถเกิดแรงฉุดหรือ Engine brakeและวิ่งช้าลง ช่วยให้ควบคุมรถได้ดีขึ้น 3.ห้ามแตะเบรกแช่ไว้ตอนขี่ลงทางลาดชัน อย่างที่บอกไปว่าตอนที่มอเตอร์ไซค์ลงทางลาดชันนั้นตัวรถจะมีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitational Acceleration) อยู่แล้ว โดยที่คนขี่อาจจะไม่จำเป็นต้องทำอะไรนอกจากแตะเบรก แต่สิ่งที่ควรระวังก็คือไม่ควรใช้เบรกค้างหรือแช่ไว้นานๆ เพราะนั่นอาจจะทำให้เบรกไหม้ได้ ยิ่งถ้าเป็นเส้นทางที่มีความลาดชันมากและมอเตอร์ไซค์ลงมาด้วยความเร่งสูง การกำเบรถแช่ก็ยิ่งมีโอกาสสูงที่เบรกจะไหม้และเบรกไม่อยู่…

รู้หรือไม่ เบรคมอเตอร์ไซค์จม เบรคไม่อยู่ มีสาเหตุมาจากอะไร

หนึ่งในเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เชื่อว่าไบค์เกอร์หลายคนต้องเคยเจอ คือขี่รถมอเตอร์ไซค์มาด้วยความเร็วและเมื่อถึงจังหวะต้องหยุดกลับเบรคจม หรือถ้าอาการหนักหน่อยก็อาจจะถึงกับเบรคมอเตอร์ไซค์ไม่อยู่จนเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นได้ แล้วอาการเบรคจมที่อันตรายอย่างนี้มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ไปหาคำตอบกันดีกว่า อาการเบรคจมเป็นอย่างไร? ปกติเวลาเหยียบเบรคหรือกำเบรคเพื่อหยุดรถมอเตอร์ไซค์ เราออกแรงแค่นิดเดียวเบรคก็จะทำงาน และถ้าเราออกแรงเยอะเบรคก็จะทำงานเยอะขึ้นและรถก็จะหยุดเร็วตามไปด้วย แต่ถ้ารถมอเตอร์ไซค์คันไหนมีอาการ ‘เบรคจม’ หรือเบรคต่ำ แป้นเบรคหรือก้านเบรคที่เคยแข็งจะจมลึกกว่าปกติจนต้องออกแรงมากกว่าที่เคย หรือต้องใช้เบรคซ้ำๆ ถึงจะสามารถหยุดหรือชะลอรถมอเตอร์ไซค์ได้ สาเหตุของอาการเบรคจมและวิธีแก้ไข 1.ชิ้นส่วนในระบบเบรคเสื่อมสภาพ เบรคจมเกิดจากอะไร? สาเหตุหลักของอาการเบรคจมเกิดจากการเสื่อมสภาพและสึกหรอของชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบเบรคมอเตอร์ไซค์ เช่น ปั๊มเบรคตัวบนเสื่อมสภาพจนประสิทธิภาพในการอัดแรงดันน้ำมันเบรคลดลง ทำให้ต้องย้ำเบรคหรือออกแรงเบรคมากกว่าปกติ วิธีแก้ไขคือทำการซ่อมชุดแม่ปั้มหรือเปลี่ยนปั๊มเบรคใหม่ รวมถึงจานเบรคสึกหรอหรือผ้าเบรคหมด ซึ่งทำให้เกิดระยะห่างระหว่างผ้าเบรคกับจานเบรคและแรงเสียดทานในการเบรคลดลง หากสงสัยว่าจะเป็นเพราะสาเหตุนี้สามารถเช็กเพื่อความมั่นใจได้โดยดูที่ระดับน้ำมันเบรค เพราะเมื่อผ้าเบรคเริ่มบางน้ำมันเบรคจะถูกดึงไปช่วยดันผ้าเบรค มากกว่าปกติ ถ้าพบว่าน้ำมันเบรคพร่องลงไปเกินครึ่งแนะนำให้เปลี่ยนผ้าเบรคและทำความสะอาดจานเบรค 2.อากาศเข้าไปแทนที่น้ำมันเบรคมากเกินไป ถ้ามอเตอร์ไซค์มีอาการเบรคจมแต่ชิ้นส่วนในระบบเบรคมอเตอร์ไซค์ยังอยู่สภาพปกติ ไม่มีชิ้นส่วนใดเสียหายหรือเสื่อมสภาพ เป็นไปได้ว่าอาการเบรคจมนั้นอาจเกิดจากการที่มีอากาศเข้าไปอยู่แทนที่น้ำมันเบรคมากเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการเติมน้ำมันเบรคเพื่อไล่ลมเบรคออกให้หมด และเหลือไว้เฉพาะน้ำมันเบรคใหม่ที่เติมเข้าไป 3.เบรคค้างโดยไม่รู้ตัว ปัจจุบันระบบเบรคที่ใช้ในมอเตอร์ไซค์ส่วนมากจะเป็นระบบดิสก์เบรค (Disc Brake) ซึ่งมีหลักการทำงานคือ เมื่อกดเบรกแม่ปั๊มจะดันผ้าเบรคไปหนีบกับจานเบรกของล้อรถ ส่งผลให้ความเร็วของรถถูกชะลอและหยุดในที่สุด ระบบเบรกแบบนี้อาจเกิดอาการเบรคค้างโดยไม่รู้ตัวและเป็นสาเหตุของอาการเบรคมอเตอร์ไซค์จมได้ เช่น ถ้าเราเอามือวางที่ก้านเบรคหรือเท้าวางบนแป้นเบรคแล้วเผลอออกแรงจนเหมือนกำเบรคตลอดเวลา ผ้าเบรคอาจจะร้อนเกินทำให้น้ำมันเบรคเดือด นานๆ ไป ผ้าเบรคก็จะบางและน้ำเบรคก็จะหายไป ทำให้เกิดอาหารเบรคจม อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เบรคค้างได้ก็คือขาคาร์ลิเปอร์มีสิ่งสกปรกเข้าไปติดขัด ทำให้เบรคติด ผ้าเบรคมีการเสียดสีตลอดเวลา และทำให้น้ำมันเบรคเดือดเช่นกัน หากสงสัยว่าอาการเบรคจมเกิดจากเบรคค้างโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่าให้ลองสังเกตที่จานเบรก…

วิธีดูแลรถมอเตอร์ไซค์ออโตเมติกคู่ใจให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถมอเตอร์ไซค์ออโตเมติก หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า รถเกียร์ออโต้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะขับขี่ง่าย สะดวกสบาย สามารถเก็บของได้เยอะ มีความคล่องตัวในการขับขี่ ทั้งในเมืองและในสภาพการจราจรที่หนาแน่น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้หลากหลายอีกด้วย เรียกได้ว่าครบเครื่องในคันเดียวเลยก็ว่าได้ วันนี้เราเลยมีวิธีดูแลรถมอเตอร์ไซค์ที่เป็นระบบออโตเมติกมาบอกต่อกัน เพื่อให้รถจักรยานยนต์คู่ใจของคุณพร้อมใช้งานอยู่เสมอ วิธีดูแลรถมอเตอร์ไซค์ออโตเมติก สำหรับรถจักรยานยนต์เกียร์ออโตเมติก นอกเหนือจากการดูแลเครื่องยนต์เบื้องต้นทั่วไป เช่น การตรวจเช็กน้ำมันเครื่องและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะอย่างต่อเนื่อง และควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถจักรยานยนต์เกียร์ออโตเมติก การตรวจเช็กระบบไฟฟ้า แบตเตอรี ตรวจสอบลมยางและแรงดันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงดูแลรักษาสภาพยางนอกทั้งสองล้อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีส่วนของระบบขับเคลื่อนที่มีกลไกการทำงานที่เจ้าของรถต้องหมั่นดูแลรักษาพอๆ กับเครื่องยนต์ ดังนี้ 1.สายพาน เมื่อพูดถึงวิธีดูแลรถจักรยานยนต์ออโตเมติก ระบบสายพานคือสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คนเป็นเจ้าของรถต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอ โดยทั่วไปอายุการใช้งานของสายพานจะอยู่ที่ระยะประมาณ 24,000 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ก็อาจจะสามารถเสื่อมสภาพก่อนกำหนดได้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าพบว่าสายพานเสื่อมสภาพก็ควรเปลี่ยนทันทีเพื่อป้องกันความเสียหายอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ หรือแม้แต่อุบัติเหตุต่อตัวผู้ขับขี่เอง 2.ผ้าคลัตช์ ลำดับต่อมาที่เจ้าของรถจักรยานยนต์ออโอเมติกไม่ควรมองข้ามก็คือ ผ้าคลัตช์ หากพบว่าอยู่ในสภาพสึกหรอจนบางกว่า 2 มิลลิเมตร นั่นหมายความว่าถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนผ้าคลัตช์ได้แล้ว 3.ไส้กรองอากาศชุดสายพาน แนะนำว่าควรทำความสะอาดทุกๆ ระยะ 3,000 กิโลเมตร 4.น้ำมันเฟืองท้าย ควรตรวจสอบการรั่วซึม เมื่อใช้งานรถจักรยานยนต์ออโตเมติกครบระยะ 1,000 กิโลเมตรแรก การบำรุงรักษาและควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายทุกๆ ระยะที่ระบุอยู่ในคู่มือผู้ใช้งานประจำรถกำหนด

7 ปลอดภัย ขับขี่ยังไงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

สาเหตุหลักของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้รถอันดับแรกสุดก็คือการขับรถเร็วเกินอัตรามากกว่าที่กฎหมายกำหนด ตามมาด้วยเมาแล้วขับและหลับใน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นตัวแปรของการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและการขาดความระมัดระวังซึ่งจบลงด้วยการบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต มาช่วยกันขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อลดการสูญเสีย ส่อง 7 วิธีขับเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ 1.คิด วิเคราะห์ แยกแยะ คาดการณ์ล่วงหน้า การคาดการณ์และประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า เป็นกระบวนการทำงานของสมอง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุขณะขับขี่ โดยอาศัยการมองให้ไกลเข้าไว้ การตัดสินใจที่ต้องรวดเร็วฉับไวและถูกต้อง การคาดการณ์และตอบสนองเพื่อหลีกหนีจากอุบัติเหตุ ยิ่งมีเวลาให้แก้ไขนานเท่าไร ก็ยิ่งปลอดภัยจากอุบัติเหตุมากเท่านั้น ควรทิ้งระยะให้ห่างจากรถคันหน้า หากเกิดการเบรกแบบฉุกเฉิน หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด 2.หลีกเลี่ยงการใช้เบรกกะทันหัน การเบรกแบบฉุกเฉินเป็นสาเหตุที่นำพาไปสู่อุบัติเหตุสองทางคือ หยุดไม่ทันแล้วไปซัดท้ายคันข้างหน้าหรือหยุดทันแต่โดนซัดท้ายเต็มๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อฝนตกในเขตเมืองจากการขับทิ้งระยะที่ไม่มากพอ สมาธิและสติที่ครบถ้วนรวมถึงการไม่ขับเร็วจะช่วยทำให้คุณไม่ต้องใช้เบรกหนักๆ 3.จุดอันตรายห้ามแซง การแซงรถช้าโดยปราศจากการมองเห็นที่ดี และการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด นำมาซึ่งอุบัติเหตุรุนแรงนับครั้งไม่ถ้วน สภาพเส้นทางก็มีส่วนทำให้การแซงมีอันตรายที่อาจตามมา 4.จุดบอดบริเวณทางแยก ทางอันตรายสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ที่สุดคือ ทางแยก ที่มีข่าวรถประสบอุบัติเหตุอันดับต้น ๆ เพราะรถมอเตอร์ไซค์เวลาออกจากซอย ทางแยก จะไม่ค่อยหยุดรถก่อนออกจากทางแยก ดังนั้น ไม่ควรแทรกรถที่กำลังเลี้ยวอยู่เพราะเป็นจุดบอดของผู้ขับขี่ ไม่หลบอยู่หลังหรือชิดรถมากเกินไป ในกรณีอยู่หน้าสุดไม่ควรพุ่งตัวออกไปทันทีที่ไฟเขียว เพราะรถฝ่าไฟแดงมีมากอาจโชคร้ายเจอพุ่งชนพอดี 5.ลดความเร็วก่อนถึงโค้ง เข้าช้าออกเร็วคือสูตรสำเร็จของการขับเข้าโค้งที่มีความปลอดภัย ไม่ใช้ความเร็วสูงเกินไปที่ไม่สอดรับกับลักษณะของโค้ง ไม่เบรกกะทันหันหรือเบรกอย่างรุนแรงในโค้ง ไม่เปลี่ยนเกียร์ขณะอยู่ในโค้ง จัดท่าทางของรถให้ถูกต้องก่อนที่จะโค้ง 6.สวมหมวกกันน็อค อุปกรณ์สำคัญของผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์คือ หมวกกันน็อค…