จานเบรกมีกี่ชนิด และทำไมจานเบรกต้องมีรู ? ที่นี่มีคำตอบ
จานเบรก เป็นชิ้นส่วนที่อยู่ติดกับล้อรถ เมื่อสัมผัสกับผ้าเบรกจะเกิดแรงเสียดทาน ทำให้รถชะลอหยุด แต่เคยสังเกตุกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไม จานเบรกบางอันถึงมีรู แล้วแตกต่างกับแบบที่ไม่มีรูอย่างไร จานเบรกมีทั้งหมด 4 ชนิด ซึ่งมีความแตกกต่างกันดังนี้ แบบเรียบ (Smooth Brake Rotor) ที่เราใช้กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะติดมาจากโรงงานผลิตและสามารถทนต่อแรงเค้นได้ดีที่สุด ใช้งานทนที่สุดในกลุ่ม แต่มีข้อเสียใหญ่คือ การระบายความร้อนทำได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับแบบเซาะร่องและแบบเจาะรู ซึ่งถ้าใครที่ใช้จานเบรกแบบเรียบ จำเป็นต้องใช้ผ้าเบรกและน้ำมันเบรกที่มีคุณภาพสูง เพื่อจะได้ทนความร้อนได้ดี จานเบรกแบบเจาะรู (Drill Brake Rotor) จานเบรกแบบนี้ มาจากความต้องการพัฒนาจานเบรกในสนามแข่งรถ เพราะการใช้จานแบบเรียบ มีการระบายความร้อนไม่ดีพอ เวลาเบรกฝุ่นในสนามจะเกาะที่จาน และยังมีก๊าซบางชนิดที่เคลือบผิวจานเบรก ทำให้ประสิทธิภาพของเบรกลดลง จึงมีการเจาะจานเบรกเพื่อระบายความร้อนขึ้น เนื่องจากทำได้ง่าย ไม่ต้องจัดหาวัสดุใหม่ซึ่งหายากในสมัยนั้น จานเบรกแบบนี้จะพบได้บ่อยในรถที่ผ่านการอัพเกรดระบบเบรก เพื่อหวังผลในการระบายความร้อนและลดโอกาสเกิดการเบรกไม่อยู่ (Brake Fade) ที่มักเกิดเมื่อจานเบรกร้อนจัดจนไม่สามารถสร้างแรงกดและแรงเฉื่อยได้ ซึ่งจานเบรกแบบนี้มีข้อเสียที่สำคัญคือ การแตกร้าว (Thermal Cracking) นั่นเอง แต่ผู้ผลิตหลายค่ายก็พยายามใช้วัสดุที่ดีขึ้นเพื่อลดจุดอ่อนที่ว่านี้ จานเบรกแบบเซาะร่อง (Slotted…