วิจัยพบ ไวรัสโคโรนาสามารถปนเปื้อนอยู่บนสิ่งของต่างๆ ได้นานถึง 9 วัน

ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดมาจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่มนุษย์ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘Covid-19’ ซึ่งมีระยะฟักตัว 2-10 วัน** และติดต่อระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ผ่านทางของเหลวจากทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม หรือปนเปื้อนจากการสัมผัสบนนิ้วมือ เข้าสู่ร่างกายผู้รับได้ทั้งทางปาก จมูก และเยื่อบุตา โรคนี้ก่อให้เกิดอาการปอดอักเสบรุนแรง แม้มีอัตราการเสียชีวิตไม่เกิน 3% จากผลวิจัยล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2020 แต่โรคนี้กลับมีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกำหนดเป็นข้อปฏิบัติต่างๆ แก่ประชาชนเพื่อป้องกันตัวเอง ทำให้เวลานี้จำนวนผู้เสียชีวิตจาก Covid-19 มีจำนวนมากกว่าผู้เสียชีวิตจาก SARS ในปี 2003 และ MERS ในปี 2012 แล้ว หลังจากการเปิดเผยจีโนมของไวรัสจากทางประเทศจีนเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เหล่านักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างพากันเร่งมือคิดค้นยาต้านไวรัสและวัคซีนอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ทันต่อการระบาดของโรคนี้ นักวิทยาศาสตร์ในส่วนอื่นก็ช่วยกันในด้านการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลของไวรัสนี้ให้มากที่สุด เพื่อลดอัตราความเร็วในการระบาดของโรคร้ายนี้ลงให้ได้ ทีมงานจาก University Medicine Greifswald ในประเทศเยอรมนี นำโดย ศ.กุนเทอร์ คัมป์ฟ ได้ทำการทดลองเพื่อหาคำตอบว่าไวรัสโคโรนานั้นจะสามารถมีชีวิตอยู่บนวัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นเวลานานเท่าใด ซึ่งในการทดลองนี้ได้นำไวรัสตัวเดิมในตระกูลโคโรนาคือ…